Hello World !
มีใครคุ้นๆกับคำนี้บ้างหรือเปล่าเอ่ย ? ซึ่งคำนี้เรามักจะพบเห็นได้บ่อยๆ เป็นคำที่แสดงผลเมื่อเราฝึกใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นนั่นเอง บางคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่ามันคืออะไรใช่แล้ววว...วันนี้เราจะมานำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ นั่นเอง !!
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ก็มีเยอะมากๆ ซึ่งหัวข้อนี้เราจะขอยกตัวอย่างมาเพียงบางโปรแกรมเท่านั้นนะคะ ได้แก่ ภาษา C/C++/C# และ Java
ก่อนอื่นขอให้ความหมายเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์กันก่อนดีกว่า...
ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษา ก็คือต้องมีคำสั่งต่อไปนี้
1. คำสั่งรับข้อมูลและแสดงผล คำสั่งประเภทนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใช้ในภาษา กับทั้งยังต้องแจกแจงละเอียดต่อไปด้วยว่า รับผ่านอุปกรณ์ใด และแสดงผลทางอุปกรณ์ใด
2. คำสั่งคำนวณ โปรแกรมหรือคำสั่งที่เขียนจะหนีไม่พ้นคำสั่งที่สั่งให้ประมวลผลประเภท
บวก ลบ คูณ หาร
3. คำสั่งที่มีการเลือกทิศทาง หมายถึง สั่งให้มีการเปรียบเทียบ เช่น ถ้ามากกว่าให้ทำอย่างหนึ่ง ถ้าเท่ากันให้ทำอย่างหนึ่ง หรือน้อยกว่าให้ทำอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนั้นอาจมีคำสั่งประเภทให้ทำงานเป็นวงซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกว่าจะมีการเปรียบเทียบค่า ซึ่งถ้าเป็นเท่านั้นเท่านี้ หรือมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ให้หยุดได้
4. คำสั่งให้นำโปรแกรมหรือข้อมูลออกมาจาก และ/หรือส่งเข้าไปเก็บในสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเรียกมาใช้ใหม่ได้
งั้นเรามาเริ่มกันที่ ...
ภาษา C
วิวัฒนาการของภาษาซี
- ค.ศ. 1970 มีการพัฒนาภาษา B โดย Ken Thompson ซึ่งทำงานบนเครื่อง DEC PDP-7 ซึ่ง ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้และยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่(ภาษาBสืบทอดมาจาภาษา BCPL ซึ่งเขียนโดย Marth Richards)
- ค.ศ. 1972 Dennis M. Ritchie และ Ken Thompson ได้สร้างภาษา C เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ภาษา B ให้ดียิ่งขึ้น ในระยะแรกภาษา C ไม่เป็นที่นิยมแก่นักโปรแกรมเมอร์โดยทั่วไปนัก
- ค.ศ. 1978 Brian W. Kernighan และ Dennis M. Ritchie ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The C Programming Language และหนังสือเล่มนี้ทำให้บุคคลทั่วไปรู้จักและนิยมใช้ภาษา C ในการเขียน โปรแกรมมากขึ้น
- แต่เดิมภาษา C ใช้ Run บนเครื่องคอมพิวเตอร์ 8 bit ภายใต้ระบบปฏิบัติการ CP/M ของ IBM PC ซึ่งในช่วงปี ค. ศ. 1981 เป็นช่วงของการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ภาษา C จึงมี บทบาทสำคัญในการนำมาใช้บนเครื่อง PC ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการพัฒนาต่อมาอีกหลาย ๆ ค่าย ดังนั้นเพื่อกำหนดทิศทางการใช้ภาษา C ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน ANSI (American National Standard Institute) ได้กำหนดข้อตกลงที่เรียกว่า 3J11 เพื่อสร้างภาษา C มาตรฐานขึ้นมา เรียนว่า ANSI C
- ค.ศ. 1983 Bjarne Stroustrup แห่งห้องปฏิบัติการเบล (Bell Laboratories) ได้พัฒนาภาษา C++ ขึ้นรายละเอียดและความสามารถของ C++ มีส่วนขยายเพิ่มจาก C ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แนวความคิดของการเขียนโปรแกรมแบบกำหนดวัตถุเป้าหมายหรือแบบ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็นแนวการเขียนโปรแกรมที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรมจำนวนมาก จึงนิยมใช้เทคนิคของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ในการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้
Thompson (left) with Dennis Ritchie.
เราจึงจะมาเริ่มต้นที่การเขียนโปรแกรมในภาษา C กันเลย เราลองมาเริ่มจากตัวอย่างการเขียน ภาษา C แบบ ง่ายๆ กันก่อนกับโปรแกรม Hello World
#include
main()
{
printf("Hello World !! ");
}
บรรทัดแรก #include เป็นการบอกว่าให้ทำการรวม Header file ที่ชื่อว่า stdio.h (.h = header) ซึ่งเป็น header ที่เกี่ยวข้องกับการรับและให้ข้อมูล (Standard Input Output) นอกจาก stdio.h แล้ว ก็ยังมี Header อื่นๆ ที่ผู้พัฒนาสามารถที่จะเรียกใช้งาน Function ที่จำเป็นจาก Header นั้นๆ ได้ อาทิเช่น
รู้จัก Header File กันไปล่ะ คราวนี้ เราลองมาดูบรรทัดถัดไปกัน ก็คือ ฟังก์ชัน main() จะเป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรม และโปรแกรมทุกโปรแกรมในภาษา C จะต้องมี Function main() นี้ โดยส่วนมาก เราจะใช้ Function main() ในการกำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ ของโปรแกรม จากนั้นจึงเข้าสู่ Function ต่างๆ ที่ผู้พัฒนา ได้กำหนดขึ้นไว้
บรรทัดถัดมาจะเป็นเครื่องหมาย { ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกขอบเขตของ Function โดยขอบเขตของฟังก์ชัน จะเปิดและปิดโดยใช้เครื่องหมายเปิด { และเครื่องหมายปิด } ตามลำดับ ภายใน Function main() จะมีคำสั่ง (Statement) printf("Hello World !! "); ซึ่ง printf เป็น Function ในภาษา C ทำหน้าที่ให้โปรแกรม ทำการแสดงผลออกทางหน้าจอว่า Hello World !! และทุกครั้ง ผู้พัฒนาจะต้องทำการจบคำสั่งหรือ Statement ด้วยเครื่องหมาย semi-colon ;
ดังนั้นรูปแบบของการเขียนโปรแกรม จึงเขียนออกมาในรูปแบบดังนี้
// ข้อความที่อยู่ข้างหลังเครื่องหมาย // จะเป็นคำอธิบายโปรแกรม
#include
void main()
{
constant declarations; // การกำหนดค่าคงที่ต่างๆ
variable declarations; // การกำหนดตัวแปรต่างๆ
executable statements; // คำสั่งการทำงานของโปรแกรม
}
การอ่านข้อมูลและการแสดงผล (Input & Output)
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน printf จะทำการพิมพ์ในรูปแบบที่ เริ่มต้นด้วย Format ที่ต้องการจะพิมพ์ และตามด้วยตัวแปรที่ต้องการพิมพ์ ดังนี้
printf( const char *format [, argument]... );
สำหรับการนำข้อมูลเข้าก็เช่นกัน จะใช้ฟังก์ชัน scanf ซึ่งจะเป็นฟังก์ชันสำหรับอ่านข้อมูลจากคีย์บอร์ด และจะนำข้อมูลที่ User ทำการพิมพ์ไปเก็บไว้ใน argument โดยแต่ละ argument จะต้องเป็นตัวแปรที่เรียกว่า pointer (รายละเอียดจะได้กล่าวต่อไป) และมีชนิดที่ตัวแปรที่สัมพันธ์กับที่ได้กำหนดไว้ใน Format รูปแบบการใช้งานของฟังก์ชัน scanf สามารถเขียนได้ดังนี้
scanf( const char *format [,argument]... );
ตัวดำเนินการในภาษาซีและภาษาซีพลัสพลัส
ภาษาซีรองรับตัวดำเนินการหลายประเภท ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในนิพจน์เพื่อระบุการจัดการที่จะถูกทำให้เกิดผล ระหว่างการประเมินค่าของนิพจน์นั้น ภาษาซีมีตัวดำเนินการต่อไปนี้ พีชคณิต (+, -, *, /, %) การกำหนดค่า (=) การกำหนดค่าแต่งเติม (+=, -=, *=, /=, %=, &=, |=, ^=, <<=, >>=) ตรรกะระดับบิต (~, &, |, ^) การเลื่อนระดับบิต (<<, >>) ตรรกะแบบบูล (!, &&, ||) การประเมินค่าเชิงเงื่อนไข (?:) การทดสอบภาวะเท่ากัน (==, !=) การรวมอาร์กิวเมนต์ฟังก์ชัน (( )) การเพิ่มค่าและการลดค่า (++, --) การเลือกสมาชิกในวัตถุ (., ->) ขนาดของวัตถุ (sizeof) ความสัมพันธ์เชิงอันดับ (<, <=, >, >=) การอ้างอิงและการถูกอ้างอิง (&, *, [ ]) การลำดับ (,) การจัดกลุ่มนิพจน์ย่อย (( )) การแปลงชนิดข้อมูล (( ))ภาษาซีมีไวยากรณ์รูปนัยซึ่งระบุโดยมาตรฐานภาษาซีการแปลงจำนวนเต็ม จำนวนจุดลอยตัว และการปัดเศษ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก -- > http://e-learning.snru.ac.th/els/program1/lesson3/page3_1.html
บทเรียนภาษาซี ตอนที่ 1 (1/2)
บทเรียนภาษาซี ตอนที่ 1 (2/2)
1: #include >iostream.h>
2: main()
3: {
4: cout << "Hello 's world ";
5: return 0;
6: }
Output
ภาษา C++
ประวัติภาษา C++
C++ เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรม ได้นำความสามารถของ ภาษา C มาพัฒนา ให้เป็นโปรแกรมภาษาที่มีความเป็น Object Oriented Programming
C++ ได้เกิดขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย Bjarne stroustrup ซึ่งทำงานอยู่ที่ Bell Laboratories โดยที่ได้มีงานเขียนเกี่ยวกับการใช้ C++ เล่มแรกในปี ค.ศ. 1985
C++ เป็น super set ของ ภาษา C นั่นหมายความว่าทุกสิ่งที่ภาษา C ทำได้ ภาษา C++ก็จะสามารถทำได้ แต่สิ่งที่ภาษา C++ ทำได้ ภาษา C อาจจะทำไม่ได้
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ C++
โปรแกรมภาษาอาจจะเป็นข้อกำหนด เกี่ยวกับกฎในการเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง คนที่คิดค้นโปรแกรมภาษานั้นอาจจะเป็นคนที่ทำเอกสารเกี่ยวกับข้อกำหนด หรือ อาจจะให้องค์กรมาตรฐานอื่นๆมาทำการกำหนดให้ก็ได้ ถ้าเราจะเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราจำเป็นที่จะต้องมีตัวแปรภาษาซึ่ง C++ จะต้องใช้ Compiler ที่ออกแบบมาให้รับรองกับภาษา C++ ซึ่ง คน ,องค์กร หรือ บริษัท ที่สร้าง Compiler อาจจะไม่ได้แคร์ ข้อกำหนดที่ Bjarne stroustrup กำหนด หรือ อาจจะไม่ได้แคร์ มาตรฐาน ANSIด้วย ทำให้เมื่อเราเขียนโปรแกรมไปแบบ หนึ่ง แล้วเราลองไปรันกับ Compiler 2 ตัวที่มาจาก 2 บริษัทอาจจะมีผลการทำงานไม่เหมือนกันก็ได้ หนังสือเล่มนี้สนับสนุนการใช้Compiler Turbo C++ 4.5 ของ บริษัท Borland อย่างไรก็ตามแต่หนังสือเล่มนี้ได้มีการทดลองการทำงานของ โปรแกรมจากหลายๆ Compiler ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำงานได้ไม่มีปัญหา
นอกจากนั้นแล้วยังมี Compiler ของบริษัทอื่นๆอีกที่ทำออกมาสำหรับ C++ เช่น
Borland C++
Microsoft Visual C++
Djgpp
Symantec C++
Watcom C++
ตัวอย่าง โปรแกรมในภาษา C++
ในตัวอย่างนี้เราจะเขียนโปรแกรม ทีมีการทำงานให้มีการแสดง คำว่า Hello World ที่จอภาพ
ในส่วนของ Source code ภาษา C++ ในหนังสือเล่มนี้จะมีหมายเลขของบรรทัดพร้อมทั้งเครื่อง หมาย : เพื่อบอกว่าเป็นบรรทัดที่เท่าไหล่ ในตอนเขียน Code จริงๆไม่ต้องใส่หมายเลขและเครื่องหมาย : ลงไป Source code ในส่วนที่อธิบายไปแล้ว จนเป็นที่รู้กันแล้วว่าคืออะไร จะไม่อธิบายอีก
เช่น Code ในหนังสือเป็น
1: #include <iostream.h>
ให้เขียนเป็น
#include <iostream.h>
โปรแกรมที่ 3-1 แสดงตัวอย่างโปรแกรมภาษา C++
Source code
1: #include >iostream.h>
2: main()
3: {
4: cout << "Hello 's world ";
5: return 0;
6: }
Output
Hello ‘s World
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก -- > http://devzilla.exteen.com/20070829/3-c
ภาษา C#
ภาษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชันการเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก
ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0
ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ตัวอย่างต่อไปนี้ คือตัวอย่างโปรแกรม Hello world ใน C#:
public class ExampleClass
{
public static void Main()
{
System.Console.WriteLine("Hello, world!");
}
}
ผลของการทำงานคือมีการแสดงคำว่า Hello, world! ในหน้าต่างคอนโซล โดยในแต่ละบรรทัดมีความหมายดังนี้:
public class ExampleClass
บรรทัดนี้คือการประกาศ Class, public หมายถึงวัตถุที่สร้างในโครงการ (Project) อื่นๆ สามารถเข้าใช้งาน Class นี้ได้ ไม่จำกัด. ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ผ่านใต้หน่วยของบรรทัดนี้ จะใช้ในการทำงานของ Class นี้
public static void Main()
บรรทัดนี้เป็นจุดที่ใช้ในการเริ่มการทำงานของโปรแกรม เมื่อโปรแกรมทำงาน โดยสามารถเรียกใช้จากโปรแกรมอื่นได้โดยการใช้ไวยากรณ์
ExampleClass.Main()
. (public static void
เป็นส่วนที่ใช้ในการทำงาน ซึ่งต้องเรียนรู้ในการเขียนขั้นสูง)System.Console.WriteLine("Hello, world!");
ในบรรทัดนี้ เป็นการทำงาน เพื่อแสดงผลออกมา Console คือโปรแกรมระบบ, ซึ่งก็คือ โปรแกรมระบบแบบสั่งคำสั่งที่ละบรรทัด (เช่น DOS) ที่สามารถรับข้อมูลและแสดงผลเป็นข้อความได้. จากที่เราเขียนโปรแกรมจะทำการเรียก Consoleโดยใช้คำสั่ง WriteLine, ซึ่งทำให้สามารถส่งค่าข้อความออกมาแสดงผลได้
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก --> http://nantayut.cs.ubru.ac.th/file_download/TechnicProgaming/01chapter.pdf
บทเรียนภาษา C# ตอนที่ 1
ภาษา Java
ภาษา Java เป็นภาษาระดับสูงในยุคที่ 4 ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้วัตถุ (Object) เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่สนใจ ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของ Object ถูกจัดกลุ่มในรูปของ Class โดยที่แต่ละคลาสมีคุณสมบัติการถ่ายทอดลักษณะ (Inheritance) ภาษา Java ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสภาวะแวดล้อมต่างกันได้โดยไม่ขึ้นกับแพตฟอร์มใดๆ (Platform Independent) เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์เข้าใจง่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
class TestJava
{
public static void main(String[] args)
{
System.out.println("Hello World!");
}
}
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม | ||||||||||||||
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java จะต้องมีโปรแกรมที่รวมคำสั่งต่างๆ ให้สามารถคอมไฟล์ และรันโปรแกรมได้ที่เรียกว่า Java Virtual Machine ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียน และพัฒนาโปรแกรม Java Virtual Machine จะอยู่ในโปรแกรมชุดพัฒนาจาวาที่เรียกว่า JDK (Java Development Kit) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Sun Microsystems ที่ใช้บริการฟรีบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ และเครื่องมือที่ใช้ในการคอมไพล์ และรันโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java โดยการดาวน์โหลด (Download) โปรแกรมชุดพัฒนาจาวา JDK ได้ที่เว็บไซต์www.java.sun.com ซึ่งจะมีโปรแกรม JDK เวอร์ชันใหม่ตลอดเวลา และเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้ หลังจากนั้นได้ทำการติดตั้ง และลงโปรแกรมให้เรียบร้อย เครื่องมือ และคำสั่งที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม Java จะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ของ Java ที่ชื่อ bin เช่น C:\java\bin เป็นต้น ประกอบด้วยคำสั่งที่สำคัญดังนี้
|
ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ตามหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java โดยใช้เอดิเตอร์ (Editor) หรือโปรแกรมที่สามารถพิมพ์ข้อความ (Text Editor) และสามารถบันทึกไฟล์เป็นรหัสแอสกี (ASCII) ได้ เช่น โปรแกรม Notepad หรือ โปรแกรม Editplus เป็นต้น หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อคลาสของ Java และใช้นามสกุลไฟล์เป็น java ตัวอย่างเช่น TestJava.java
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้ว มีรูปแบบคำสั่ง คือ javac FileName.java เมื่อ FileName.java คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล java ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์ จะได้ไฟล์ไบต์โค้ดที่ชื่อเดียวกับชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น javac TestJava.java หลังจากการคอมไพล์จะได้ไฟล์ TestJava.class ข้อสำคัญในการคอมไพล์ไฟล์ซอร์สโค้ด คือต้องพิมพ์ชื่อไฟล์พร้อมนามสกุลเป็น java เสมอ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามการตั้งชื่อคลาส
ขั้นตอนที่ 3 ทำการรันโปรแกรม เพื่อดูผลลัพธ์ทางจอภาพโดยการรันไฟล์ไบต์โค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้วซึ่งมีรูปแบบคำสั่งคือ java FileName เมื่อ FileName คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ไม่ต้องมีนามสกุล
ดังนั้นการรันโปรแกรมเพียงแค่พิมพ์ชื่อไฟล์ไม่ต้องพิมพ์นามสกุลของไฟล์ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น java TestJava เมื่อ TestJava คือชื่อไฟล์ TeatJava.class
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก --> http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html
ภาษาจาวาตอนที่ 1
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ มีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาโปรแกรมมีข้อดีและเหมาะกับใช้งานต่างๆ กัน หลักในการเลือกใช้ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้คือ
1. เลือกภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับความชำนาญของบุคลากร หรือนักเขียนโปรแกรม
2. คำนึงถึงเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและเขียนโปรแกรม
3. เลือกภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นักเขียนโปรแกรมเข้าใจง่าย มีการประยุกต์ใช้งานได้อย่างแพร่หลาย และสามารถพัฒนาต่อไปในอนาคตได้
4. เลือกภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับฮาร์ดแวร์ และสามารถทำงานร่วมกันได้ระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากวิดีโอ ฝึกเขียนโค้ด หรือสนใจจะเรียนเกี่ยวกับสาขาของภาควิชาคอมพิวเตอร์ก็จะได้เจอและฝึกทักษะเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์อีกเพียบซึ่งอาจจะทำให้ตาลายกันได้เลยทีเดียว และที่สำคัญด้วยความห่วงใยจากบล็อกเกอร์
*อย่าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆเดี๋ยวจะส่งผลเสียต่อสายตาของเราได้ เราต้องถนอมสายตาของเราไว้ใช้นานๆนะ :D * แล้วพบกันบล็อกหน้า อย่าลืมติดตามน้าาา ....
อ้างอิง
http://www.comscicafe.com/article/4/cpp-lesson-2-tutortong#.VYgmDfntmko
http://devzilla.exteen.com/20070829/2-c
http://tuchchapron.blogspot.com/
http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html
http://dolkkatwin.blogspot.com/2012/07/c-c-c.html
https://sites.google.com/site/bbmm2553/prawati-khwam-pen-ma-khxng-phasa-si
http://thaigoodview.com/node/99341
http://www.tice.ac.th/division/website_c/about/page2.htm
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B
YOUTUBE : PasaComputer
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น