ยินดีต้อนรับเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 สำหรับการเขียนบล็อกของเราแล้ววว .... (เย้ ~~)
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันก็ร้อนถึงร้อนมาก หรือบางวันท้องฟ้าสว่างสดใส
ฝนก็ดันตกลงมาสะงั้น ในกรุงเทพฯบางพื้นที่ตกหนักมากจนน้ำท่วมเลยทีเดียว พอพูดถึงฝนตกก็ทำให้รถติดจนไม่อยากจะออกไปไหน เดินทางก็ไม่สะดวก คนส่วนใหญ่ก็คงจะตัดสินใจอยู่บ้านชิวๆ นอนดูหนัง ฟังเพลง เล่นมือถือ เล่น social apps ไปพลางๆ แต่ก็อย่ามัวใจจดใจจ่อเล่นจนไม่เป็นอันทำอะไรเลย
ไม่อย่างนั้นคงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีแน่นอน ^u^
พูดถึง social apps แล้วทุกคนก็คงจะคุ้นเคยกับแอพพลิเคชั่นเหล่านี้เป็นอย่างดี อย่างเช่น Facebook,Line,Twitter,Instagram,Beetalk etc. เยอะแยะจนบอกไม่หมด ...
และแอพพลิเคชั่นที่กล่าวมาเหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งที่พัฒนามาจาก social network นั่นเอง
มาทำความรู้จักกับ social network กันดีกว่า
โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต
คนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น
การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ
ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้ มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น เว็บรวมนักเขียนนิยาย เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network) เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้ โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น
ทุกๆคนก็คงจะทราบดีอยู่แล้วว่าการใช้ social network นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น สะดวกรวดเร็ว และทันสมัย สามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างไร้ขีดจำกัด ถ้าอย่างนั้นเราจะกล่าวถึงข้อเสียหรือพฤติกรรมที่เสี่ยงของการใช้ social network ไว้เป็นข้อคิดให้สำหรับคนในสังคมหรือพวกเราได้คิดตามและระมัดระวังในการใช้งาน social network ให้มากขึ้น
ความเสี่ยงเหล่านี้เราควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้มันบ่อยๆ ใน social network เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และเกิดปัญหามิจฉาชีพ หลอกลวง ผู้ใช้บริการ อย่างที่มีข่าวออกมาในปัจจุบัน
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ social network
- ปกปิดเรื่องส่วนตัว เช่น ญาติมิตร สิ่งที่รัก คนที่รักชอบ หรือกิจกรรมที่กระทำ ไว้บ้าง อย่าบอกทุกเรื่อง การเปิดโล่งบัญชี Facebook ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างยิ่ง
- อย่าเปิด/อนุญาติ แอพพลิเคชั่นที่เราไม่แน่ใจ เพราะใน Social Network มักจะเชื่อมต่อในหลากหลายผลให้สามารถล่วงรู้กลุ่มบุคคลใดที่ติดต่อเรา รู้กิจกรรมทั้งหมดที่เราทำบน Social Network
- ให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกันโดยไม่มีประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้า ไม่นานมานี้ก็เพิ่งจะมีคุณสมบัติที่ติดตามการชอปปิงของผู้ใช้แล้วเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รู้กันทั่วกัน
- ผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณที่เหมาะสม เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ได้พอสมควร สำหรับมือใหม่เพิ่งหัดใช้ ต้องเข้าไปตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ที่ Privacy Settings จากเมนู Settings ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนรายละเอียดในการเผยแพร่ภาพถ่าย ข้อความ ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำงาน
- ศึกษาข้อมูลและอ่านวิธีการใช้งานให้แน่ชัด หรือสอบถามจากผู้รู้ที่เชื่อถือได้ถึงข้อดีข้อเสียของ Social Network นั้นก่อนที่จะใช้งาน
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากเตือนเรื่องการใช้ social network ของสังคมไทยในปัจจุบัน อย่าใช้มันมากจนทำให้มามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของเรา และทุกๆอย่างที่ได้รับรู้ผ่าน social network ก็ควรจะมีวิจารณญาณควบคู่กันไปด้วย
ด้วยความปรารถนาดี : )
อ้างอิง
http://www.microbrand.co/social-network-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/
https://sites.google.com/site/socialnetwork114/khx-khwr-ptibati-ni-kar-chi-social-network
https://sites.google.com/site/socialnetwork114/khx-khwr-ptibati-ni-kar-chi-social-network
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น